ใช้งานเว็บไซต์ อพท. เต็มความสามารถบนเบราว์เซอร์ที่รองรับ
Google Chrome
Mozilla Firefox
Microsoft Edge
Logo

เมนู

TH

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/Banner.png

หมุนเวลาย้อนวันวานก่อนประวัติศาสตร์ เรียนรู้รากอารยธรรมแหล่งโบราณคดี: ชุมชนบ้านปราสาทใต้ จังหวัดนครราชสีมา

เคยสงสัยกันไหมว่า คนกลุ่มแรก ๆ ที่ได้เดินทางมาตั้งถิ่นฐานพักอยู่อาศัยยังประเทศไทยคือใคร และคนกลุ่มนั้นเขาใช้ชีวิตกันอย่างไรในยุคหลายพันปีก่อน จะเหมือนกับภาพมนุษย์ยุคหินแบบต่างประเทศที่เราเห็นกันในการ์ตูนหรือไม่ เชื่อว่าคำถามเหล่านี้ ยังคงเป็นสิ่งที่ยังต้องหาคำตอบที่แน่ชัดกันต่อไป ผ่านศาสตร์ที่มีชื่อว่า “โบราณคดี” และในวันนี้เราจะพาคุณไปเรียนรู้อารยธรรมของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในภาคอีสานตอนล่าง พร้อมกับความหลากหลายของกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบครบรส ที่ชุมชนบ้านปราสาทใต้ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

กิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาทใต้ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

1. เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชุมชนโบราณ ผ่านพิพิธภัณฑ์บ้านปราสาท

2. เรียนรู้หัตถกรรมเส้นใยพืช ภูมิปัญญาโบราณจากริมน้ำธารปราสาท

3. ชมวิธีการทอผ้าไหมมัดหมี่ ของฝากเมืองโคราช

4. สักการะศาลปู่ตา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน

5. ลัดเลาะเข้าสวน บุกแปลงปลูกดอกรักแหล่งใหญ่ของหมู่บ้าน

6. ชมหลุมขุดค้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

7. เดินเล่นรับลมชมวิวข้ามลำน้ำธารปราสาท บนสะพานตะโกนรัก

8. จับตะหลิวเข้าครัวทำผัดหมี่โคราช รสชาติแซ่บหลายอาหารพื้นถิ่น

ic_review_noti

* นักท่องเที่ยวสามารถตรวจสอบกิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละช่วง และติดต่อชุมชนล่วงหน้า เพื่อให้ทางชุมชนได้เตรียมความพร้อมในแต่ละกิจกรรมได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A1-1.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A1-2.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A1-3.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A1-4.jpg

1. เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชุมชนโบราณ ผ่านพิพิธภัณฑ์บ้านปราสาท

ชุมชนบ้านปราสาท นับเป็นชุมชนที่มีพัฒนาการทั้งในด้านการตั้งถิ่นที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ติดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบัน โดยภายในพิพิธภัณฑ์บ้านปราสาท มีการจัดแสดงการจำลองวิถีชีวิตของชุมชน ทั้งข้าวของเครื่องใช้โบราณที่หาชมได้ยาก เครื่องมือการจับสัตว์น้ำพื้นถิ่น เครื่องมือในการเพาะปลูก พร้อมทั้งการบอกเล่าเรื่องราวของพิธีกรรมโบราณที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชุมชนอย่างการทำนา ในพิธี “ทำขวัญยุ้งข้าว” ซึ่งเป็นความเชื่อโบราณในการอัญเชิญพระแม่โพสพให้ช่วยดูแลปกปักรักษายุ้งข้าวให้ปลอดภัย

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A2-1.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A2-2.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A2-3.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A2-4.jpg

2. เรียนรู้หัตถกรรมเส้นใยพืช ภูมิปัญญาโบราณจากริมน้ำธารปราสาท

เรามีนัดกับ “ผู้ใหญ่เทียม” ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ผู้ที่จะพาเราไปเรียนรู้ไปทำกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนครั้งนี้ เริ่มกิจกรรมแรกกันที่ “กลุ่มหัตถกรรมเส้นใยพืช” ที่ผลิตงานจักสานจากต้นกก และต้นธูปฤาษี (ต้นลำพรรณ) ซึ่งหาได้จากรอบ ๆ ลำน้ำธารปราสาทที่ไหลผ่านหมู่บ้าน มีการประยุกต์ออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและใช้งานได้จริง ทั้งกระเป๋า แฟ้มใส่เอกสาร เสื่อพับ หมวก รองเท้า กล่องกระดาษทิชชู่ ที่ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านปราสาทนอกช่วงเวลาการไปทำไร่ทำนาได้เป็นอย่างดี

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A3-1.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A3-2.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A3-3.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A3-4.jpg

3. ชมวิธีการทอผ้าไหมมัดหมี่ ของฝากเมืองโคราช

ผ้าไหมมัดหมี่ ถือเป็นภูมิปัญญาการทอผ้าชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในภาคอีสาน โดยจะมีเอกลักษณ์ตรงที่การสร้างลวดลายที่แตกต่างกันออกไป ผ่านการมัดเส้นไหมด้วยด้ายหรือเชือก ก่อนที่จะนำเส้นไหมหรือเส้นฝ้าย ไปทำการย้อมสีแต่ละจุด สุดแล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ทอผ้า ซึ่งแต่ละผืนนั้นต้องขอบอกเลยว่าใช้เวลาแรมเดือนในการคิดค้นลายและการทอออกมาให้เสร็จสมบูรณ์ ผ้าไหมมัดหมี่ จึงมีราคาที่ค่อนข้างสูง เพราะใช้ทั้งเวลาและความประณีตในการทอเป็นอย่างมาก

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A4-1.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A4-2.jpg

4. สักการะศาลปู่ตา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน

เดินทางไปกราบไหว้ศาลประจำหมู่บ้านกันที่ “ศาลปู่ตา” ตั้งอยู่ใต้ต้นมะขามใหญ่ขนาด 9 คนโอบ ซึ่งมีอายุมากกว่า 300 ปี ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาคุ้มครองชาวบ้านให้ใช้ชีวิตกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยจะมีพิธีบวงสรวงทำบุญกันเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายน

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A5-1.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A5-2.jpg

5. ลัดเลาะเข้าสวน บุกแปลงปลูกดอกรักแหล่งใหญ่ของหมู่บ้าน

ระหว่างทางในชุมชน เราจะสังเกตเห็นแปลงปลูกต้นรักจำนวนมาก ซึ่งที่บ้านปราสาทใต้นั้น เป็นแหล่งปลูกดอกรัก ส่งไปยังร้านดอกไม้ค้าส่งใหญ่ๆ เพื่อใช้ในงานร้อยมาลัย หรืองานดอกไม้ประดับตกแต่งสถานที่ ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เพราะเป็นดอกไม้เศรษฐกิจที่ปลูกขายส่งได้ในราคาที่ดีมาก

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A6-1.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A6-2.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A6-3.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A6-4.jpg

6. ชมหลุมขุดค้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท

“แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท” เป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่และเก่าแก่รองลงมาจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ประกอบไปด้วยหลุมขุดค้นมากกว่า 3 หลุมขนาดใหญ่ ลึก 5.5 เมตร มีความสมบูรณ์ของหลักฐานชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์ บ่งบอกถึงยุคสมัยและอารยธรรมในแต่ละช่วงได้อย่างชัดเจน โดยมีโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุกว่า 3,000 ปี ฝังอยู่ในชั้นดินที่ลึกที่สุด ลดหลั่นขึ้นมาเป็นชั้นตามช่วงสมัย พร้อมทั้งของประดับและภาชนะยุคโบราณที่แตกต่างกันในแต่ละชั้นดิน เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด และภาชนะดินเผาปากแตรเคลือบน้ำดินสีแดงแบบลายเชือกทาบและขัดมัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทางโบราณคดี ในการเข้าใจถึงวิถีชีวิตและอารยธรรมของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์

ic_review_cost

ประมาณการค่าใช้จ่ายกิจกรรมเข้าชมแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท *สามารถบริจาคแล้วแต่ศรัทธา

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A7-1.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A7-2.jpg

7. เดินเล่นรับลมชมวิวข้ามลำน้ำธารปราสาท บนสะพานตะโกนรัก

“สะพานตะโกนรัก” สะพานไม้ข้ามลำธารปราสาทเชื่อมคนสองหมู่บ้านที่เดินสัญจรผ่านไปมาเข้าหากัน สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ และวิถีชีวิตทั้งสองฝั่งลำน้ำธารปราสาท ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังถือเป็น 1 ใน 9 แหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์อีกด้วย และในทุก ๆ ปี ทางชุมชนยังมีการจัดงาน “ประเพณีวิ่งตะโกนรัก” เพื่อประชาสัมพันธ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสบรรยากาศการท่องเที่ยวโดยชุมชนในแบบของบ้านปราสาทใต้

/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A8-1.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A8-2.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A8-3.jpg
/images/reviewTravel/Ban Prasat Tai/A8-4.jpg

8. จับตะหลิวเข้าครัวทำผัดหมี่โคราช รสชาติแซ่บหลายอาหารพื้นถิ่น

มาโคราชทั้งที ถ้าไม่ได้ลิ้มลองผัดหมี่โคราช ก็นับว่าน่าเสียดายเป็นอย่างมาก วันนี้ทางชุมชนเลยจัดให้พวกเราได้ลองทำผัดหมี่โคราช สอนกันแบบตัวต่อตัว โดยมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ เส้นหมี่โคราช หมูสามชั้น ไข่ไก่ กระเทียม น้ำมะขามเปียก เต้าเจี้ยว น้ำตาลมะพร้าว พริกป่น โดยนำมาหมูสามชั้นมาผัดกับซอสรวมกันจนสุก จากนั้นใส่เส้นหมี่ลงไปจนเส้นซึมน้ำจนหมด พร้อมใส่ใบกุยช่าย และถั่วงอกตบท้าย โดยรสชาติจะครบรสทั้งเค็ม เผ็ด เปรี้ยว และหวานแบบลงตัว นอกจากนี้ยังมีทัพเสริมสำรับเมนูพื้นบ้านอื่น ๆ ทั้งต้มใบมะขามอ่อนไก่บ้าน น้ำพริกปลาทู ผักต้ม ขนมหวาน ผลไม้ หรืออาหารตามฤดูกาล จัดกันมาให้อิ่มหนำแบบเต็มโต๊ะ

ic_review_cost

ประมาณการค่าใช้จ่ายกิจกรรมพักโฮมสเตย์ พร้อมสำรับอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาล 300 บาท/ คน/ คืน

แหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง (ระยะห่างจากชุมชน)

อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ (8 กม.)

พิกัด : https://bit.ly/2CKXLy8

ปราสาทหินพิมาย (17.4 กม.)

พิกัด : https://bit.ly/2Ej1enK

พิกัดการเดินทางไปยังชุมชน

บ้านปราสาทใต้ : https://bit.ly/2YcDSas

การเดินทาง

ติดต่อผู้ประสานงานการท่องเที่ยวโดยชุมชน และที่พักโฮมสเตย์ได้ที่

ผู้ใหญ่เทียม ละอองกลาง โทร.089–581–7870

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Community tourism
Ban Prasat Tai community
Nakhon Ratchasima
Ban Prasat Archaeological Site
Prasat House Museum
Sing Rak Bridge
Pad Mee Korat
ic_cbt
ติดต่อเรา
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
หน้าแรก
รีวิวท่องเที่ยวโดยชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนตามฤดู
ท่องเที่ยวและกิจกรรม
เส้นทางแนะนำ
เทศกาลและประเพณี
ที่พักชุมชน
ระบบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเจ้าหน้าที่ อพท.
สำหรับชุมชนท่องเที่ยว
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป
ic_footer_facebook
dastathailand
ic_footer_email
tis@dasta.or.th
ic_footer_telephone
02-357-3580-7
ic_footer_fax
02-357-3599
ic_footer_telephone_home
02-357-3580-402
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายเว็บไซต์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STIS)
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท (เว็บไซต์)
Copyright © 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). All Rights Reserved.