ใช้งานเว็บไซต์ อพท. เต็มความสามารถบนเบราว์เซอร์ที่รองรับ
Google Chrome
Mozilla Firefox
Microsoft Edge
Logo

เมนู

TH

หลวงพ่อพระใหญ่ วัดโพธาราม

หลวงพ่อพระใหญ่ วัดโพธาราม

หลวงพ่อพระใหญ่ วัดโพธาราม

ic_detail_activity

วัด

ic_detail_location

รายละเอียดกิจกรรม

หลวงพ่อพระใหญ่อันประดิษฐาน ณ ที่วัดโพธารามแห่งนี้ นับเป็นหลวงพ่อคู่บ้านคู่เมืองของชาวบึงกาฬมาแต่ช้านาน หลวงพ่อพระใหญ่ วัดโพธารามตั้งอยู่ที่วัดโพธาราม บ้านท่าใคร้ ต.บึงกาฬ อ.เมือง จ.บึงกาฬ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยโบกฉาบด้วยปูน สูงประมาณ 2 เมตรหน้าตักกว้าง 2 เมตรจากพระฌานุ(เข่า) ถึงพระศอ (คอ) สูง 0.90 เมตร พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 5 เหยียดลงอย่างมีระเบียบเหมือนพระพุทธรูปทั่ว ๆ ไปประดิษฐานบนแท่น 4 เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี 2537 นี้ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบึงกาฬที่ตั้งโบราณ ชาวบึงกาฬจัดงานสมโภชช่วงวันเพ็ญเดือน 3 และช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตามตำนานและคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หลายรุ่น หลายสมัยเล่าสืบต่อกันมาประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว จนถึงยุคสมัยหลัง ๆ ซึ่งแต่ก่อนคนเหล่านี้ส่วนมากได้อพยพครอบครัวมาจากเมืองยศ ซึ่งในปัจจุบันก็คือจังหวัดยโสธร มาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำโขงและร่นขึ้นมาทางเขตชัยบุรี หรืออำเภอบึงกาฬในปัจจุบัน การตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นก็เหมือนกันทุกยุคทุกสมัย คือที่ใดไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิต ต้องประสบกับภัย และมีการระบาดของโรคร้ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอหิวา โรคไข้ฝีดาด ถูกรบกวนจากสัตว์ร้ายหรือภูตผีปีศาจต่าง ๆ ก็พากันหลบหนีภัยย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ เพื่อหาที่เหมาะสมต่อไป ชนกลุ่มนี้ก็เหมือนกันย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ๆ เพื่อหาที่เหมาะสม จนถึงบ้านท่าใคร้ในปัจจุบัน เมื่อเห็นเป็นที่เหมาะสมดีก็ตกลงใจกันตั้งหลักฐานที่จะหากินในบริเวณนี้จากนั้นต่างก็จับจองพื้นที่หากินแล้วเริ่มขยายอาณาบริเวณไปเรื่อย ๆ จนถึงบริเวณที่รกทึบที่สุดเป็นป่าดงดิบ มีไม้นานาพันธุ์ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้สัก ไม้ไผ่ป่า ขี้นอยู่อย่างหนาแน่นและเต็มไปด้วยสัตว์ป่าหลายชนิด ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากเป็นป่ารกทึบมากชาวบ้านที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่รอบ ๆ จึงได้ร่วมกันในการถากถางเพื่อจะได้มีพื้นที่มากขึ้น หลังจากที่ได้ทำการถากถางอยู่เป็นเวลาหลายวันก็พบพุ่มไม้ที่สูงและหนากว่าที่อื่น ๆ เมื่อถางป่าดังกล่าวออกก็พบพระพุทธรูปเดิมที่เต็มไปด้วยเถาวัลย์พันรอบองค์อยู่ จึงได้นำเถาวัลย์ออก แล้วปัดกวาดบริเวณรอบ ๆ ก็พบว่าพระเกตุมาลาของหลวงพ่อหักเพราะถูกช้างป่ากระชากเถาวัลย์ลงมาเพื่อหากินตามธรรมชาติของสัตว์ป่า และเห็นเป็นรูปร่างของสถานที่บำเพ็ญบุญ หรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา อีกทั้งยังพบซากเครื่องปั้นดินเผา โอ่งโบราณ รวมทั้งเครื่องใช้อีกหลายอย่างองค์พระพุทธรูปนั้นตั้งแต่ได้พบมาถึงปัจจุบัน ไม่เคยเคลื่อนย้ายหรือ ต่อเติมแต่อย่างใด เพียงแต่ต่อพระเกตุที่หักให้คงสภาพเดิม มีเพียงแท่นที่ประดิษฐานเท่านั้นที่สร้างโอบแท่นเดิม เพื่อให้มีความมั่นคงขึ้นยิ่งกว่าเดิม และมีผู้ที่มาขอพรจากหลวงพ่อเมื่อได้สมความปรารถนาแล้วก็ได้นำสีทองมาทาสมโภชหลวงพ่อ จึงทำให้องค์หลวงพ่อเหลืองอร่ามเป็นสีทองทั้งองค์

  • img
  • img

ข้อมูลการติดต่อ

โทร

-

เว็บไซต์

-

ที่อยู่

ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 38000

ic_cbt
ติดต่อเรา
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
หน้าแรก
รีวิวท่องเที่ยวโดยชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนตามฤดู
ท่องเที่ยวและกิจกรรม
เส้นทางแนะนำ
เทศกาลและประเพณี
ที่พักชุมชน
ระบบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเจ้าหน้าที่ อพท.
สำหรับชุมชนท่องเที่ยว
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป
ic_footer_facebook
dastathailand
ic_footer_email
tis@dasta.or.th
ic_footer_telephone
02-357-3580-7
ic_footer_fax
02-357-3599
ic_footer_telephone_home
02-357-3580-402
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายเว็บไซต์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STIS)
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท (เว็บไซต์)
Copyright © 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). All Rights Reserved.