ใช้งานเว็บไซต์ อพท. เต็มความสามารถบนเบราว์เซอร์ที่รองรับ
Google Chrome
Mozilla Firefox
Microsoft Edge
Logo

เมนู

TH

วัดศรีดอก (วัดพระเจ้านั่งดิน)

วัดศรีดอก (วัดพระเจ้านั่งดิน)

วัดศรีดอก (วัดพระเจ้านั่งดิน)

ic_detail_activity

วัด

ic_detail_location

รายละเอียดกิจกรรม

วัดศรีดอก ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 3 ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งของจังหวัดแพร่ ปัจจุบันนี้ มี พระอธิการสมบูรณ์ ประภากโร เป็นเจ้าอาวาส โดยเจ้าอาวาสวัดศรีดอก ได้เล่าถึงความเป็นมาของวัดศรีดอกและพระเจ้านั่งดิน ดังนี้ วัดศรีดอก ไม่ได้มีการบันทึกประวัติไว้แต่มีการเล่าสืบกันต่อมา จนถึงวันนี้ก็ไม่สามารถหาหลักฐานพบได้ แต่มีตำนานเล่ากันมาว่า ณ กาลครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า ได้เสด็จมาทางทิศใต้ พระพุทธองค์ได้ทรงประทับใต้ต้นโพธิ์ ในขณะนั้นก็ได้มีพวกลัวะพวกแจ๊ะได้มาหาปลาตามหนองแห่งนี้ จึงได้มาพบพระพุทธเจ้า เข้าใจว่าและสงสัยว่าเป็นยักษ์เพราะไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้ามาก่อน ก็พากันแตกตื่นวิ่งหนีกันไปคนละทิศละทาง พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรียกให้กลับคืนมาว่า เราไม่ใช่ยักษ์เราเป็นพระตถาคต พวกลัวะพวกแจ๊ะบางพวกก็เชื่อ บางพวกก็ไม่เชื่อ พวกที่เชื่อก็กลับมา พวกที่ไม่เชื่อก็ไม่กลับ บ้างก็กล้า ๆ กลัว ๆ พวกที่ยังไม่เชื่อพระพุทธเจ้าจึงได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้ดูโดยทำให้ต้นโพธิ์ (ต้นศรี) บานดอกมีกลิ่นหอมตลบไปทั่ว มีสีที่สวยงามมาก พวกลัวะพวกแจ๊ะได้เห็นแล้วก็พากันไปบอกพวกที่ยังอยู่บ้านให้ทราบ ก็พากันมาดูพระพุทธเจ้าและดอกโพธิ์ (ดอกศรี) บานมากันหมดทั้งบ้านเลยละทิ้งฆ้อง(ละฆ้อง) ไว้ที่บ้าน สถานแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า ร่องละฆ้องจนตราบเท่าทุกวันนี้ พวกลัวะพวกแจ๊ะได้รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าคนวิเศษก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า สถานแห่งนี้ต่อไปในภาคหน้าจะมีผู้มาสร้างรูปพระตถาคตไว้ ณ ที่นี่ซึ่งเป็นป่าดงดิบหนาทึบมีสัตว์ร้ายต่าง ๆ มากมายเวลาต่อมาก็มีพวกม่านพวกเงี้ยวได้มาสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาองค์หนึ่งไว้ในป่าแห่งนี้และได้สร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่งเล็ก ๆ ซึ่งทำด้วยไม้ซาง(ไม่ไผ่)ทำเป็นฝาและเพดานหลังคามุงด้วยหญ้าคาพออาศัยทำพิธีทางศาสนาในสมัยนั้นทิ้งไว้ในป่า บางครั้งก็มีเสือได้มาอาศัยอยู่หลับนอนในวิหารหลังนี้เป็นประจำ ลำดับต่อมาก็มีผู้คนมาสร้างบ้านเรือนอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนาจึงได้มีประเพณีจุดบ้องไฟ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ขอน้ำฟ้าน้ำฝนในเดือน 9 เหนือแรม 14 ค่ำ (เดือน 9 ดับ) ในครั้งหนึ่ง สมเด็จพระวันรัต ได้มีโอกาสเดินทางมาเยี่ยมเยือนวัดศรีดอก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2514 สมเด็จพระวันรัต เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้แปลกกว่าพระพุทธรูปองค์ใดในประเทศไทย เพราะว่าประดิษฐานต่ำนั่งกับพื้นดิน สมเด็จพระวันรัตน์ จึงให้นามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธรูปนั่งดิน" ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ สมเด็จพระวันรัตน์ ได้กำชับกับคณะศรัทธาวัดศรีดอก ห้ามโยกย้ายและยกฐานสูงกว่าเดิมเป็นอันขาด จนถึงปัจจุบันนี้ยังอยู่ในลักษณะเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระเจ้านั่งดิน วัดศรีดอก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 60 นิ้ว สูง 2 เมตร ปางสมาธิ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากอีกองค์หนึ่งในจังหวัดแพร่ นอกจากนี้ในบริเวณวัดศรีดอกยังมีของดี ๆ และวิเศษอีกมายมาย อาทิ มีพระธาตุวิหารหลังปัจจุบัน ยังมีบ่อน้ำภายในมีฆ้องทองคำลูกหนึ่งเสียงไพเราะมาก มีลูกแก้ววิเศษอีกลูกหนึ่งวันดีคืนดี ยามดีจะออกมาปรากฏให้เห็น มีแสงสีคล้ายกับหลอดนีออนสวยงามมาก นอกจากนี้ บริเวณรอบ ๆ วัดทั้ง 4 ด้าน มีต้นตาล โดยครูบามหาเถร วัดสูงเม่นได้นำมาปลูกไว้และมีต้นลั่นทม (จำปาลาว) พ่อเจ้าคำลือ พ่อของแม่เจ้าคำป้อ ได้นำใส่หลังช้างมาจากตัวเมืองแพร่ มาปลูกต้นไม้เหล่านี้ไม่มีใครที่จะกล้าตัด เนื่องจากผู้ปลูกได้สาปแช่งเอาไว้จึงพบว่าภายในวัดศรีดอก มีต้นไม้ใหญ่ต้นโพธิ์ (ต้นศรี) และต้นไม้ใหญ่ ดำรงคงอยู่คู่กับวัดศรีดอก คอยให้ร่มเงาแก่ผู้มาเยี่ยมเยือนวัดไปตราบนานเท่านาน Blog ท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ร้านชิค ๆ ในแพร่10 สุดยอดสถาปัตยกรรมอาคารเก่าแก่ในเมืองแพร่วัดเก่าแก่ในเมืองแพร่

  • img
  • img

ข้อมูลการติดต่อ

โทร

-

เว็บไซต์

-

ที่อยู่

ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130

ic_cbt
ติดต่อเรา
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
หน้าแรก
รีวิวท่องเที่ยวโดยชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนตามฤดู
ท่องเที่ยวและกิจกรรม
เส้นทางแนะนำ
เทศกาลและประเพณี
ที่พักชุมชน
ระบบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเจ้าหน้าที่ อพท.
สำหรับชุมชนท่องเที่ยว
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป
ic_footer_facebook
dastathailand
ic_footer_email
tis@dasta.or.th
ic_footer_telephone
02-357-3580-7
ic_footer_fax
02-357-3599
ic_footer_telephone_home
02-357-3580-402
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายเว็บไซต์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STIS)
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท (เว็บไซต์)
Copyright © 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). All Rights Reserved.