ใช้งานเว็บไซต์ อพท. เต็มความสามารถบนเบราว์เซอร์ที่รองรับ
Google Chrome
Mozilla Firefox
Microsoft Edge
Logo

เมนู

TH

ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ

ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ

ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ

ic_detail_activity

พิพิธภัณฑ์

ic_detail_location

รายละเอียดกิจกรรม

ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ (Hellfire Pass Memorial Museum) : เรียนรู้...เพื่อโลกที่สันติ เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (รองรับผู้ใช้รถเข็น) : Tourism For All http://tourismproduct.tourismthailand.org/tourismforall ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เดินทัพผ่านเมืองไทย เพื่อไปโจมตีดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ ได้แก่ พม่า และอินเดีย จึงจำเป็นต้องสร้างทางรถไฟเพื่อลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ เริ่มต้นจากราชบุรี ผ่านกาญจนบุรีมุ่งหน้าประเทศพม่า ได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายพันธมิตร ทั้งทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คน และกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู พม่า อินเดีย มาก่อสร้าง ซึ่งจุดที่มีความลำาบาก คือ "ช่องเขาขาด" เพราะต้องตัดภูเขาให้เป็นช่องสำหรับสร้างรางรถไฟ แรงงานที่ทำางานหนักและเจ็บป่วย ได้เสียชีวิตที่ช่องเขาขาดนี้เป็นจำานวนมาก รัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรเลียได้ร่วมมือกันสร้าง "ช่องเขาขาด พิพิธภัณฑสถานแห่งความทรงจำ" เพื่อรำลึกถึงผู้คนที่เสียชีวิตไปในครั้งนั้น ภายในพิพิธภัณฑ์มีการแสดงประวัติความเป็นมาของช่องเขาขาด และเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งยังมีเส้นทางเดินไปยังช่องเขาขาด เพื่อศึกษาร่องรอยของทางรถไฟที่ยังเหลืออยู่ และมีประติมากรรม ชื่อ อ่างแห่งสันติ (The Peace Vessel) ตั้งอยู่ในมุมที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงาม ราวกับจะบอกเล่าว่า ในวันที่โหดร้ายของผู้ที่สร้างทางสายนี้ ยังมีความงามของธรรมชาติคอยปลอบประโลมใจ เปิดให้เข้าชม ฟรี : ทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. พิพิธภัณฑ์ปิดในวันสำคัญ ดังนี้ วันที่ 13-15 เมษายน วันสงกรานต์ วันที่ 25-27 ตุลาคม 2560 วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 5 ธันวาคม วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 24-27 ธันวาคม วันคริสมาส วันที่ 31 ธันวาคม-1 มกราคม วันปีใหม่ สอบถามข้อมูล : โทรศัพท์ 0 3491 9605, 08 1733 0328ย้อนเวลากลับไปสู่เรื่องราวในอดีตที่ชาวไทยไม่เคยลืมเลือนกับ "ช่องเขาเขา" หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า "ช่องไฟนรก" (Hellfire Pass) ซึ่งเป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดในส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า ที่กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างขึ้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทัพเข้าไปสู่ประเทศอินเดีย แต่การสร้างทางรถไฟสายนี้ใช่ว่า จะง่ายดายนัก เพราะเต็มไปด้วยอุปสรรคทางธรรมชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภูเขา หน้าผา แม้แต่หุบเหวที่อันตราย ทำให้การก่อสร้างค่อนข้างยากลำบาก และสิ่งที่ตามมาคือการสูญเสียชีวิตเชลยที่ถูกเกณฑ์มาเป็นคนงานก่อสร้าง ทางรถไฟสายนี้อย่างมากมายมหาศาล น่าทำ -เดินชมพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเรื่องราวและภาพประวัติศาสตร์ของการก่อสร้างทางรถไฟในยุคนั้น ที่แห่งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรเลีย ที่ไม่เพียงจัดแสดงข้าวของ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น หากยังมีมินิเธียเตอร์ที่นำพาทุกคนย้อนเวลา กลับไปสู่ยุคนั้นผ่านภาพยนตร์เงียบแบบขาว-ดำ ซึ่งได้ถ่ายทำจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นระหว่าง การก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะสายนี้ -เปิดประสบการณ์จริงด้วยการเดินลงไปชมช่องเขาขนาดกว้าง 17 เมตร สถานที่เกิดเหตุขึ้นจริง ในอดีตที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยของทางรถไฟและการระเบิดหินขณะก่อสร้าง ทุกอณูของความเจ็บปวด ของชีวิตที่ถูกทรมานยังคงอบอวลในบรรยากาศที่บางมุมคุณสามารถสัมผัสได้อย่างไรอย่างนั้น

  • img
  • img
  • img
  • img
  • img

ข้อมูลการติดต่อ

โทร

-

เว็บไซต์

-

ที่อยู่

ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150

ic_cbt
ติดต่อเรา
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
หน้าแรก
รีวิวท่องเที่ยวโดยชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนตามฤดู
ท่องเที่ยวและกิจกรรม
เส้นทางแนะนำ
เทศกาลและประเพณี
ที่พักชุมชน
ระบบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเจ้าหน้าที่ อพท.
สำหรับชุมชนท่องเที่ยว
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป
ic_footer_facebook
dastathailand
ic_footer_email
tis@dasta.or.th
ic_footer_telephone
02-357-3580-7
ic_footer_fax
02-357-3599
ic_footer_telephone_home
02-357-3580-402
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายเว็บไซต์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STIS)
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท (เว็บไซต์)
Copyright © 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). All Rights Reserved.