ใช้งานเว็บไซต์ อพท. เต็มความสามารถบนเบราว์เซอร์ที่รองรับ
Google Chrome
Mozilla Firefox
Microsoft Edge
Logo

เมนู

TH

พระพุทธบาทภูควายเงิน

พระพุทธบาทภูควายเงิน

พระพุทธบาทภูควายเงิน

ic_detail_activity

ic_detail_location

รายละเอียดกิจกรรม

โบราณสถานเก่าแก่ทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง ในอำเภอเชียงคานจังหวัดเลยถือเป็น ศาสนสถาน ศักดิ์สิทธิ์ สำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงคานมานาน แต่อดีตซึ่งในครั้งเก่าก่อนเชื่อกันว่า ใครก็ตามที่จะมาถึงวัดพระพุทธบาทภูควายเงินได้ ต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาจริง ๆ เท่านั้น ส่วนคนที่มีบุญหรือมีวาสนาไม่ถึงก็จะมีเหตุและอุปสรรค์ต่าง ๆ ทำให้มาไม่ได้ทั้งที่ตั้งใจไว้อย่างเต็มที่แล้วก็ตาม ในปัจจุบันการเดินทางมาวัดแห่งนี้ สามารถทำได้อย่างสะดวกโดยใช้เส้นทางสายเชียงคาน-ปากชมที่มีระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรเมื่อถึงหมู่บ้านผาแบ่นแล้วให้ไปตามทางแยกเข้าบ้านอุมุงอีกประมาณ 3 กิโลเมตรจะถึงทางขึ้นเขาซึ่งเป็นทางลูกรังประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระพุทธบาทภูควายเงินแห่งนี้ จากหลักฐานที่บันทึกประวัติความเป็นมาของวัด ได้ระบุไว้ว่าวัดพระพุทธบาทภูควายเงินสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2300 เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 400 เมตรนอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องเล่าต่อกันมาด้วยว่า ในอดีตวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง แต่มักจะมีพระธุดงค์เดินทางมากปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่เสมอ และในบริเวณวัดยังมีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ภายใต้ซุ้มอิฐใหญ่ ขนาดพอที่คนจะเข้าไปนั่งได้ 2 คนซึ่งในภาษาถิ่นจะเรียกสิ่งปลูกสร้างในลักษณะนี้ว่า"อุบมุง" ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นชื่อหมู่บ้านทางทิศตะวันออกของวัดคือบ้านอุมุง ที่หมู่บ้านอุมุงแห่งนี้ มีชาวนาผู้หนึ่งที่มักพาควายขึ้นมาหาหญ้ากินบนภูเขาบริเวณวัด และเมื่อมีพระธุดงค์ผ่านมาชาวนาผู้นี้ก็จะนำเอาอาหารมาถวายแก่พระธุดงค์เป็น ประจำ ซึ่งอานิสงส์แห่งการถวายทานนี้เอง ทำให้ชาวนาทำนาขายข้าวได้เงินมากทุกปี จนร่ำรวยถึงขั้นเศรษฐีและด้วยสำนึกในบุญคุณของควาย ที่ช่วยไถนาปลูกข้าวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ชาวนาจึงเรียกควายตัวนี้ว่า"ควายเงิน" วัดแห่งนี้จึงตั้งชื่อว่า"วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน" ตามเรื่องเล่านี้เอง และเนื่องจากการทำนาในบริเวณภูควายเงิน นั้นได้ผลผลิตดีต่อมาจึงได้มีชาวนาอพยพเข้ามาตั้งรกรากมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหมู่บ้านและขนานนามว่า"หมู่บ้านนุมุง" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า"อุบมุง" ที่เป็นสิ่งปลูกสร้างคลุมรอยพระพุทธบาทศักดิ์สิทธ์ ส่วนภูเขาลูกนั้นชาวบ้านได้เรียกกันว่า"ภูควายเงิน" เพื่อบอกเล่าถึงสถานที่และเป็นเกียรติแก่สัตว์ อันเป็นคุณที่เป็นเรี่ยวแรงให้เกิดความสำเร็จ ในการประกอบอาชีพและในทุก ๆ ปีเมื่อถึงวันขึ้น15 ค่ำเดือน 3 ทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชประจำปี ซึ่งถือว่าเป็นงานสำคัญของชาวบ้านในแถบอำเภอเชียงคาน รวมไปถึงชาวลาวจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่มาร่วมสักการะรอยพระพุทธบาทกันเป็นจำนวนมาก สำหรับสิ่งที่น่าสนใจ ในบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงินแห่งนี้ ก็คือรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยแตก แต่ไม่มีอักษรจารึกขนาดกว้างประมาณ 1 ศอก ยาวประมาณ1 วา รูปลักษณะเหมือนรอยพระพุทธบาทจริง และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 นอกจากนี้ยังมีพระเจ้าใหญ่พุทธฉัพรรณรังสีพระพุทธ รูปปูนปั้นสีขาวองค์ใหญ่และตามพระวรกายยังประดับด้วยกระจกเงาชิ้นเล็ก ๆ ให้ได้สักการะและสิ่งที่โดดเด่น สะดุดตาต่อผู้มาเยือนอีกสิ่งหนึ่งก็คือ ปูนปั้นรูปควายเงินที่ตั้งอยู่บริเวณลานจอดรถทางเข้าวัดนั่นเอง มาเที่ยวเชียงคานทั้งทีลองหาโอกาสดี ๆ แวะมาเที่ยววัดพระพุทธบาทภูควายเงินทำบุญทำทานทำใจให้สงบกันดูบ้าง แล้วจะรู้ว่าศาสนาไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะนอกจากจะได้อิ่มอกอิ่มใจกับวิวสวย ๆ อากาศดี ๆ แล้วยังได้อิ่มบุญกลับบ้านไปแบบเต็ม ๆ กันอีกด้วย

ข้อมูลการติดต่อ

โทร

-

เว็บไซต์

-

ที่อยู่

ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 42110

ic_cbt
ติดต่อเรา
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
หน้าแรก
รีวิวท่องเที่ยวโดยชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนตามฤดู
ท่องเที่ยวและกิจกรรม
เส้นทางแนะนำ
เทศกาลและประเพณี
ที่พักชุมชน
ระบบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเจ้าหน้าที่ อพท.
สำหรับชุมชนท่องเที่ยว
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป
ic_footer_facebook
dastathailand
ic_footer_email
tis@dasta.or.th
ic_footer_telephone
02-357-3580-7
ic_footer_fax
02-357-3599
ic_footer_telephone_home
02-357-3580-402
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายเว็บไซต์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STIS)
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท (เว็บไซต์)
Copyright © 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). All Rights Reserved.