ใช้งานเว็บไซต์ อพท. เต็มความสามารถบนเบราว์เซอร์ที่รองรับ
Google Chrome
Mozilla Firefox
Microsoft Edge
Logo

เมนู

TH

วัดศรีเทพประดิษฐาราม

วัดศรีเทพประดิษฐาราม

วัดศรีเทพประดิษฐาราม

ic_detail_activity

วัด

ic_detail_location

รายละเอียดกิจกรรม

วัดศรีเทพประดิษฐาราม สร้างขึ้นเมื่อ พ. ศ. 2402 โดยเจ้าเมืองทองทิพย์ มังคละคีรี เดิมชื่อว่าวัดศรีคุณเมือง ก่อนเป็นวัดร้าง กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2445 หลวงปู่จันทร์ เขมิโย หรือพระเทพสิทธาจารย์ ลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล มาบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2449 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีเทพประดิษฐาราม หลวงปู่จันทร์ บรรพชาเป็นสามเณร ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2434 ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุในวัย 20 ปี และอยู่จำพรรษาครองสมณเพศมาถึงอายุ 92 ปี จึงละสังขารเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2516 ดังนั้นในวันที่ 2 ก.พ.ของทุกปี ซึ่งเป็นวันมรณภาพ คณะศิษยานุศิษย์จึงได้ร่วมกันจัดงานเพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์ ที่ได้สร้างคุณงามความดีไว้มากมายให้กับวงการพระพุทธศาสนา วันที่ 22 พฤศจิกายน 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงทอดผ้าไตรหน้าหีบศพ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงวางดอกไม้จันทน์พระราชทานเพลิงศพ พระเดชพระคุณพระเทพสิทธาจารย์ ในสมัยพระครูอุทัยธรรมโสภณ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดรูปที่ 3 เมื่อปี 2548 มูลนิธิหลวงปู่จันทร์และสโมสรโรตารี่นครพนม นำโดย นายจิตร ปิติพัฒน์ ประธานมูลนิธิหลวงปู่จันทร์ นายพิศิษฐ์ ปิติพัฒน์ นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันก่อสร้างพิพิธภัณฑ์หลวงปู่จันทร์ขึ้น ณ บริเวณริมกำแพงวัดด้านทิศเหนือ (ข้างตึกสารภาณนุสรณ์) เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังและพุทธศาสนิกชน ได้ศึกษาชีวประวัติพระอริยสงฆ์ของชาวไทยที่ทำคุณประโยชน์คุณูปการแก่ชาว จ.นครพนม และคณะสงฆ์นิกายธรรมยุต ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 2548 แล้วเสร็จในปลายปี 2549 เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว เป็นห้องโถ่งโล่ง ปูด้วยหินอ่อนทั้งหลัง สิ้นงบในการก่อสร้าง 5.2 ล้านบาท ประกอบพิธีเปิดและสมโภชไปแล้วเมื่อต้นปี 2550 ภายในพิพิธภัณฑ์ เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเหมือนหลวงปู่จันทร์เท่าตัวจริง ที่อยู่บนแท่นหินอ่อนสูง 3 ชั้น ครอบด้วยกระจกใส ล้อมรอบด้วยดอกบัวแห้งประดิษฐ์ มุมซ้ายเป็นตู้กระจกไม้สูง 4 เมตร มีภาพหลวงปู่เขียนด้วยสีน้ำมันอยู่ในกรอบไม้ ภายในตู้ประกอบด้วยเครื่องอัฐบริขาร เช่น ผ้าไตร จีวร กระติกน้ำร้อน ชานหมาก บาตร รองเท้าแตะ และไม้เท้าถัดไปเป็นมุมโต๊ะลายมุก มีใบแต่งตั้งหลวงปู่ ตั้งแต่สมัยเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูศีลสัมบัน ต่อมาในรัชกาลที่ 6 เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระสารภาณมุณี สมัย พ.อ.พระยาพหล พยุหเสนา และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัชกาลที่ 7, 8 ก่อนเลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์ ในรัชกาลที่ 9 ตามลำดับ และใบแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 8-11 รูปที่ 3 (ธรรมยุต) โดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ด้านขวาเป็นโต๊ะหมู่บูชา มีพระประธาน พระพุทธรูปไม้ปางประทานพร และภาพถ่ายหมู่ในอดีตคณะสงฆ์วงศ์ธรรมยุตสมัยเก่า ถ่ายเมื่อ 23 เม.ย.2508 มีหลวงปู่จันทร์นั่งเป็นประธานหน้าสุด กับพระอริยสงฆ์ชื่อดังของเมืองไทย อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี, หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลอด ปโมทิโต เป็นต้น นอกจากนี้ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า 108 ภาพ และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแสง ตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นพร้อมกับพระสุก พระเสริม และหลวงพ่อพระใส (วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย) ส่วนด้านหลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิหลวงปู่จันทร์ และภาพจิตรกรรมนูนต่ำ ภาพเทพพระยาดาติดฝาผนังที่หาดูได้ยาก และได้รับรางวัลภาพถ่ายนานาชาติจากตากล้องอิสระอีกด้วย

  • img
  • img
  • img
  • img
  • img

ข้อมูลการติดต่อ

โทร

-

เว็บไซต์

-

ที่อยู่

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48000

ic_cbt
ติดต่อเรา
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
หน้าแรก
รีวิวท่องเที่ยวโดยชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนตามฤดู
ท่องเที่ยวและกิจกรรม
เส้นทางแนะนำ
เทศกาลและประเพณี
ที่พักชุมชน
ระบบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเจ้าหน้าที่ อพท.
สำหรับชุมชนท่องเที่ยว
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป
ic_footer_facebook
dastathailand
ic_footer_email
tis@dasta.or.th
ic_footer_telephone
02-357-3580-7
ic_footer_fax
02-357-3599
ic_footer_telephone_home
02-357-3580-402
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายเว็บไซต์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STIS)
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท (เว็บไซต์)
Copyright © 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). All Rights Reserved.