ใช้งานเว็บไซต์ อพท. เต็มความสามารถบนเบราว์เซอร์ที่รองรับ
Google Chrome
Mozilla Firefox
Microsoft Edge
Logo

เมนู

TH

วัดหน้าพระเมรุราชิการาม

วัดหน้าพระเมรุราชิการาม

วัดหน้าพระเมรุราชิการาม

ic_detail_activity

วัด

ic_detail_location

รายละเอียดกิจกรรม

สถานที่ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสันติสุขของบ้านเมืองอย่างยิ่งยวด เมื่อวัดที่สร้างในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2046 เดิมชื่อ วัดพระเมรุราชิการามแห่งนี้ เคยเป็นที่พระมหาจักรพรรดิใช้ทำสัญญาสงบศึกสงครามช้างเผือกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เมื่อ พ.ศ. 2092 ตลอดสมัยอยุธยาจึงได้รับดูแลอย่างดี และได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้าบรมโกศ เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ก็รอดเพลิงผลาญของพม่ามาได้ จนได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดนี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่ในสภาพสมบูรณ์มาก องค์หนึ่งนั้นประดิษฐานภายในพระอุโบสถใหญ่ขนาด 9 ห้องหรือประมาณ 41 เมตรครึ่ง หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งเหยียบอยู่บนเศียรของพญานาคล่างลงไปเป็นราหู ล้อมรอบด้วยหมู่เทวดาประนมมืออยู่ 26 องค์ลงรักปิดทองประดับกระจก ประตูเข้าด้านหน้าอุโบสถมี 3 บาน ช่องกลางมีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดประดับยอดปราสาทสำหรับบุคคลสำคัญเท่านั้น ต่อมาดัดแปลงเป็นซุ้มหน้าต่างแทน ภายในมีเสาแปดเหลี่ยมขนาดใหญ่ 8 คู่ หัวเสาเป็นยอดดอกบัวตูมรับเครื่องหลังคาขนาดมหึมาตลอดคานไม้และขื่อประดับลายแกะไม้รวมถึงดาวเพดานที่แกะได้อลังการราวกับดวงดาวในท้องฟ้าแต่สำคัญและงดงามที่สุดคือ พระพุทธรูปทรงเครื่ององค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งที่เคยค้นพบ ประทับนั่งปางมารวิชัย พระพักตร์สง่า สงบนิ่งทว่าน่าเกรงขามยิ่งนัก หน้าตักกว้าง 9 ศอกเศษ สูง 6 เมตรเศษ พระนามว่าพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถหรือ พระพุทธนิมิตฯ โดยคำว่าพระพุทธรูปทรงเครื่องนั้นตีความได้ 2 ประการ คือหนึ่ง หมายถึงพระศรีอาริยเมตไตรยผู้ซึ่งจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ปัจจุบันพระองค์ยังเป็นเทพบุตรอยู่ในสรวงสวรรค์จึงทรงเครื่องเทวดา หรือสอง หมายถึงเรื่องราวพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าทรมานพญามารชมพูบดี ผู้ชอบอวดความมั่งคั่งแต่งกายสวยงาม พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตพระองค์ให้มีความงามกว่าพญามาร เป็นการปราบมารในรูปแบบหนึ่ง ส่วนพระวิหารน้อย หรือวิหารสรรเพชญ์หรือวิหารเขียนซึ่งมีขนาดเล็กเพียง 6 เมตร ยาว 16 เมตร สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 ลวดลายปูนปั้นปิดทองทั้งที่ประตูและหน้าต่างเป็นลายพรรณพฤกษาฝรั่งปนจีนตามสมัยนิยม เช่น ลายแจกันดอกไม้และโต๊ะหมู่บูชาแบบจีนขนาดเล็ก ภายในมีพระคันธารราฐ พระพุทธรูปศิลาเขียวสมัยทวารวดี สร้างระหว่าง พ.ศ. 1000-1200 ปางปฐมเทศนา ประทับห้อยพระบาทบนดอกบัวบานซึ่งพระยาไชยวิชิต (เผือก) แม่กองบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 จารึกไว้ว่า อัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุที่อยุธยา ทว่ามีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่าอัญเชิญมาจากวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นแหล่งค้นพบพระพุทธรูปทวารวดีขนาดใหญ่หลายองค์โดยพระคันธารราฐนี้มีปรากฏในโลกเพียง 6 องค์เท่านั้น อยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ 3 องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาที่อยุธยา1 องค์ ประเทศอินโดนีเซีย 1 องค์ และที่วัดหน้าพระเมรุ 1 องค์พระคันธารราฐนี้มีลักษณะเด่น คือพระรัศมีรอบพระเศียรตามแบบอิทธิพลจีน ชายจีวรถูกถลกสูงเผยพระชานุซ้ายซึ่งนิยมในการสร้างพระศรีอาริยเมตไตรยในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง ส่วนพระหัตถ์ทั้งคู่วางราบอยู่บนเข่าทั้งสอง แปลกไปจากปางที่พบในเมืองไทย นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งลบเลือนไปตามกาลเวลา แม้จะยังพอมองเห็นเป็นภาพการเดินทางและการตั้งร้านขายของ อันเป็นภาพวิถีชีวิตโบราณที่หาดูได้ยากและงดงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย พระอุโบสถเปิดเวลา 08.00-18.00 น. ค่าเข้าชมชาวต่างชาติ 20 บาท โทร. 0 3525 1991 แผนที่การเดินทางไปวัดหน้าพระเมรุ http://www.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Multimedia/Ebrochure/474/วัดหน้าพระเมรุ.pdf

  • img
  • img

ข้อมูลการติดต่อ

โทร

-

เว็บไซต์

-

ที่อยู่

ตำบลคลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

ic_cbt
ติดต่อเรา
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
หน้าแรก
รีวิวท่องเที่ยวโดยชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนตามฤดู
ท่องเที่ยวและกิจกรรม
เส้นทางแนะนำ
เทศกาลและประเพณี
ที่พักชุมชน
ระบบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเจ้าหน้าที่ อพท.
สำหรับชุมชนท่องเที่ยว
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป
ic_footer_facebook
dastathailand
ic_footer_email
tis@dasta.or.th
ic_footer_telephone
02-357-3580-7
ic_footer_fax
02-357-3599
ic_footer_telephone_home
02-357-3580-402
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายเว็บไซต์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STIS)
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท (เว็บไซต์)
Copyright © 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). All Rights Reserved.