ใช้งานเว็บไซต์ อพท. เต็มความสามารถบนเบราว์เซอร์ที่รองรับ
Google Chrome
Mozilla Firefox
Microsoft Edge
Logo

เมนู

TH

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

ic_detail_activity

พิพิธภัณฑ์

ic_detail_location

รายละเอียดกิจกรรม

นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย เนื่องจากมีลักษณะอาคารภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนอายุกว่า 100 ปี ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2525 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา โดยที่นี่ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง ผ่านวัตถุโบราณเก่าแก่ที่น่าสนใจมากมาย เช่น บานประตูไม้เดิมของจวน อันเป็นศิลปะพุทธศตวรรษที่ 24 ทำด้วยไม้จำหลักเขียนสี และประดับมุกฝีมือช่างชาวจีนชั้นครู แสดงออกถึงคตินิยมในธรรมเนียมประเพณีวรรณคดีศาสนาตามแบบจีนที่วิจิตรงดงาม รวมทั้งโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ได้จากแหล่งโบราณคดีจากบ้านเชียงและกาญจนบุรี นอกจากนี้ ยังจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุเกี่ยวกับตระกูล ณ สงขลา ซึ่งเป็นตระกูลเจ้าเมืองสงขลาในอดีตด้วย รูปลักษณ์สถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลานั้น โดดเด่นตั้งแต่รูปลักษณ์ภายนอกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมจีนที่มี ความเก่าแก่กว่าร้อยปี โดยอาคารหลังนี้เดิมเป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2421 ครั้นในปี พ.ศ. 2437 ได้ถูกใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นได้ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2496 อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา นั้น จัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมยุโรป มีลักษณะเป็นตึกก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น หันหน้าไปทางทิศตะวันตกและหันหน้าสู่ทะเลสาบสงขลา ลักษณะตัวบ้านยกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ปลูกเป็นเรือนหมู่ 4 หลัง เชื่อมติดกันด้วยระเบียงทางเดิน มีบันไดขึ้น 2 ทาง คือด้านหน้าและตรงกลางลานด้านใน กลางบ้านเป็นลานเปิดโล่งเหมาะสำหรับจัดกิจกรรม ส่วนด้านหน้าอาคารมีสนามและมีอาคารโถงขนาบสองข้าง ด้านหลังก็มีสนามเช่นเดียวกัน พื้นที่โดยรอบอาคารเป็นสนามหญ้าและสวนมีกำแพงโค้งแบบจีนล้อมรอบ อาคารชั้นบน ห้องยาวด้านหลัง มีบานประตูบานเฟี้ยม แกะสลักโปร่งเป็นลวดลายเล่าเรื่องในวรรณคดีจีน สลับลายพันธุ์พฤกษาหรือลายมังกรดั้นเมฆ เชิงไข่มุกไฟ ส่วนหัวเสาชั้นบนของอาคารมีภาพเขียนสีเป็นภาพเทพเจ้าจีน หรือลายพฤกษา ภายในห้องตรงขื่อหลังคาจะมีเครื่องหมายหยินหยาง โป้ยป้อ หรือ ปากั้ว เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ตามคตินิยมของชาวจีน หลังคามุงกระเบื้องสองชั้นฉาบปูนเป็นลอน สันหลังคาโค้ง ปลายทั้งสองด้านเชิดสูงคล้ายปั้นลมของเรือนไทย ขณะเดียวกันภายนอกอาคารบริเวณผนังใต้จั่วหลังคา ก็มีภาพประติมากรรมนูนต่ำสลับลาย ภาพเขียนสีเป็นรูปเทพเจ้าจีนและลายพันธุ์พฤกษา นับเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่ควรค่าน่าศึกษาอย่างแท้จริง ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ถนนวิเชียรชม อยู่ตรงข้ามกำแพงเมืองจังหวัดสงขลา อำเภอเมืองฯ จังหวัดสงขลา

  • img
  • img
  • img

ข้อมูลการติดต่อ

โทร

-

เว็บไซต์

-

ที่อยู่

ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000

ic_cbt
ติดต่อเรา
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
หน้าแรก
รีวิวท่องเที่ยวโดยชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนตามฤดู
ท่องเที่ยวและกิจกรรม
เส้นทางแนะนำ
เทศกาลและประเพณี
ที่พักชุมชน
ระบบที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเจ้าหน้าที่ อพท.
สำหรับชุมชนท่องเที่ยว
สำหรับนักพัฒนาทั่วไป
ic_footer_facebook
dastathailand
ic_footer_email
tis@dasta.or.th
ic_footer_telephone
02-357-3580-7
ic_footer_fax
02-357-3599
ic_footer_telephone_home
02-357-3580-402
นโยบายเว็บไซต์
นโยบายเว็บไซต์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STIS)
องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อพท (เว็บไซต์)
Copyright © 2020 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). All Rights Reserved.